วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ “ถุงยางอนามัย” ไม่ช่วย





Jurairat N.




หากคุณเป็นคนฉลาด รับรองว่า “ถุงยางอนามัย” เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณจะไม่ยอมให้ขาดเมื่อต้องทำกิจกรรมเข้าจังหวะ เพราะนอกจากจะป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ได้มีการวางแผนครอบครัวมาก่อน (หรือเรียกง่ายๆ ว่า ท้องในตอนที่ยังไม่พร้อม) ได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้มากมาย โดยถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ HIV ได้มากถึง 98% เลยทีเดียว

แต่ยังมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคที่ถุงยางอนามัยก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากเท่าไร นั่นก็คือ หูดหงอนไก่ และเริมที่อวัยวะเพศ เพราะผู้ป่วยทั้ง 2 โรคนี้ สามารถแพร่เชื้อผ่านไปสู่อีกคนหนึ่งการสัมผัสทางผิวหนังได้ แม้เวลาที่ใช้ถุงยางอนามัย เชื่ออาจติดตรงผิวหนังส่วนที่อยู่นอกถุงยางได้


เพศสัมพันธ์แบบไหน ติดเชื้อ/ติดโรคได้มากที่สุด

การเล้าโลม หรือสำเร็จความใคร่ด้วยมือ มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคจากคู่นอนน้อยที่สุด ต่อด้วยเพศสัมพันธ์ด้วยปาก และผ่านช่องคลอด มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น และจะมีความเสี่ยงในการติดโรคมากที่สุด คือการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทวารหนัก เพราะอวัยวะเพศชาย และรูทวารหนักทำให้เกิดรอยถลอกได้ง่าย ทำให้เชื้อโรคผ่านเข้าสู่แผลนั้นได้ง่ายขึ้น

istockphoto

ถุงยางอนามัย ช่วยได้แน่ ถ้าใช้ถูกวิธี

อย่างไรก็ตาม ถุงยางอนามัยยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี เพียงแค่ต้องใช้ให้ถูกวิธี
ควรเลือกขนาดของถุงยางอนามัยให้เหมาะกับขนาดของอวัยวะเพศของคุณผู้ชาย หากไม่แน่ใจว่าต้องใช้ขนาดไหน ให้ลองซื้อมาให้หลายๆ ขนาด แล้วสังเกตความแน่นในการสวมใส่


ไม่ควรสวมถุงยางอนามัยเกิน 2 ชิ้นต่อการใช้ 1 ครั้ง เพราะอาจทำให้ถุงยางอนามัยเสียดสีกันจนขาดได้ง่าย


ควรใช้ถุงยางอนามัย 1 ครั้งต่อ 1 ชิ้น ให้เสร็จให้ทิ้งเลย ห้ามเก็บมาใช้ต่อ


สามารถใช้สารหล่อลื่นทาเคลือบภายนอกถุงยางอนามัย เพื่อให้การสอดใส่เป็นไปได้โดยง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ควรเลือกใช้ชนิดเจล ไม่ควรเลือกใช้ชนิดน้ำมัน เพราะอาจทำให้ถุงยางชำรุด หรือฉีกขาดได้


ควรรูดอากาศออกจากกระเปาะของถุงยางให้หมดก่อนสวม เพราะอากาศภายในถุงยางอาจทำให้ถุงยางแตก หรือขาดได้ง่ายยิ่งขึ้น


หลังทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย ฝ่ายชายควรถอนอวัยวะเพศออกมาก่อนที่อวัยวะเพศจะอ่อนตัว ป้องกันถุงยางอนามัยหลุดเข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิง



อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่สุด หรือไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หากคุณรักเดียวใจเดียว โอกาสในการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ก็น้อยลงไปด้วยค่ะ

หากท่านผู้อ่านสนใจสินค้าเหล้่านี้ สามารถสั่งซื้อสินค้าราคาถูกพิเศษได้ที่>> http://www.vitamin24hr.com

ถูกที่สุดทั่วไทย สินค้าบริษัท

แอดไลน์ที่>> http://line.me/ti/p/%40vitamin24hr

หรือ ไลน์ไอดี @vitamin24hr

****

วันนี้กดไลค์เพจเราและแชร์แบบสาธารณะ เพื่อลุ้นรับขนาดทดลอง จัดส่งถึงบ้าน ประกาศผลทุกสิ้นเดือนจ้า

7 สัญญาณอันตราย ได้เวลารักษา “รากฟัน”





Jurairat N.




อาการปวดฟัน อาจสามารถบ่งบอกถึงอาการผิดปกติของฟันได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นฟันผุ ฟันคุด ฟันร้าว หรือเหงือกอักเสบ แต่หากเป็นอาการที่บ่งบอกว่ารากฟันของคุณได้เวลาเข้ารับการซ่อมแซมโดยด่วน มักจะมีสัญญาณอันตรายที่มากกว่าแค่ปวดฟัน


สัญญาณอันตราย ได้เวลารักษา “รากฟัน”
มีอาการปวดฟันตุ๊บๆ ตามจังหวะการเต้นของชีพจร


เจ็บ หรือปวดฟันเวลาเคี้ยว หรือกัดอาหาร


ปวด และบวมเหงือก จากอาการเหงือกติดเชื้อ


ปวดเมื่อฟันกระทบกัน


ปวดฟันโดยไม่ทราบสาเหตุ


ปวดฟัน แม้กระทั่งเวลานอนตอนกลางคืน


ปวดฟัน โดยไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้น เช่น น้ำเย็น หรืออาหารหวาน


ทำไมเราต้องรักษารากฟัน?

รากฟันอาจมีความผิดปกติจากการติดเชื้อ อักเสบ จากอาการฟันผุทะลุไปจนถึงโพรงประสาทฟัน มีฟันที่ร้าว หรือแตกไปจนถึงโพรงประสาทฟัน ฟันได้รับแรกกระแทกจนเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ จนทำให้เชื้อโรคเข้าไปทำลายโพรงประสาทฟันด้านในได้


ทำอย่างไร เมื่อต้องรักษารากฟัน

ปัจจุบันมีวิธีรักษารากฟันมากมายที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของรากฟันที่ถูกทำลาย และดุลยพินิจของแพทย์ เริ่มตั้งแต่การกรอฟันเพื่อเปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟัน กำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก ล้างคลองรากฟันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ อุดคลองรากฟันเพื่อไม่ให้เชื้อโรคกลับเข้ามาอีก จากนั้นจึงค่อยๆ กลับมาบูรณะรากฟัน ตั้งแต่การฝังรากฟันเทียม การปลูกกระดูก ปลูกเนื้อเหงือก (หากจำเป็น) รวมไปถึงการอุดฟันให้ฟันกลับมามีรูปร่างลักษณะดังเดิม ผู้ป่วยสามารถใช้ฟันเคี้ยวอาหาร และดูแลทำความสะอาดด้วยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติ


การรักษาฟันอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันโพรงประสาทฟันถูกทำลาย
ทำความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น หรือใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร


ไม่ใช้ฟันในการงับ กัดของแข็งๆ หรือกัดดึงถุงเหนียวๆ เพราะอาจทำให้ฟันเสียหายได้


หากประสบอุบัติเหตุที่ทำให้ฟันเสียหาย เช่น ฟันบิ่น ราว แตก ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที


หากมีอาการปวดฟัน ปวดเหงือก หรือมีความผิดปกติอื่นๆ เช่น มีกลิ่นปากรุนแรง ควรรีบพบทันตแพทย์


พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน









ขอขอบคุณ

ข้อมูล :ทพญ. ธนิตา ณรงค์เดช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,อ.ทพ. ชิตพล ชัยมานะการ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพ :iStock

หากท่านผู้อ่านสนใจสินค้าเหล้่านี้ สามารถสั่งซื้อสินค้าราคาถูกพิเศษได้ที่>> http://www.vitamin24hr.com

ถูกที่สุดทั่วไทย สินค้าบริษัท

แอดไลน์ที่>> http://line.me/ti/p/%40vitamin24hr

หรือ ไลน์ไอดี @vitamin24hr

****

วันนี้กดไลค์เพจเราและแชร์แบบสาธารณะ เพื่อลุ้นรับขนาดทดลอง จัดส่งถึงบ้าน ประกาศผลทุกสิ้นเดือนจ้า

5 วิธีลดน้ำหนักแบบได้ผล โดยไม่ต้องอดอาหาร!




สนับสนุนเนื้อหา

หลักการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือต้องลดไขมันที่มีอยู่ในร่างกาย ไม่ใช่ลดกล้ามเนื้อ และอย่าหยุดกินอาหาร แต่ต้องเลือกกินอาหารให้มากขึ้นเท่านั้นเอง ที่สำคัญควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย จึงจะสามารถช่วยทำให้ลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น แบบไม่ต้องอดอาหารเลยแม้แต่มื้อเดียว



เลือกกินให้มากขึ้น คุมแป้งไขมัน และน้ำตาล

ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เลือกกินให้มากขึ้น เช่น กินเนื้อสัตว์ส่วนที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงส่วนหนัง งดกินเค็ม ของมันของทอด และเปลี่ยนมากินอาหารที่ใช้วิธีทำด้วยการต้มหรือนึ่งแทน รวมไปถึงจำกัดปริมาณการกินอาหารที่อุดมด้วยแป้ง ไขมัน และน้ำตาลด้วย ที่สำคัญควรกินอาหารหลักให้ครบ 3 มื้อ โดยมีผักผลไม้ทุกวัน และถ้าหากดื่มนมเป็นประจำ ควรเลือกดื่มนมรสธรรมชาติ สูตรพร่องไขมัน หรือไขมัน 0% หลีกเลี่ยงนมที่มีรสหวาน เช่น รสช็อกโกแลต รสสตอเบอร์รี่ เป็นต้น



กินข้าวเท่ากับเนื้อ กินผักมากกว่าข้าว

การกินแบบ 2:1:1 ใน 1 มื้อ (ผัก 2 ส่วน / คาร์โบไฮเดรต 1 ส่วน / โปรตีน 1 ส่วน / ผลไม้ 1 ส่วน) จะให้พลังงานประมาณ 400 กิโลแคลอรี ช่วยลดพลังงานในแต่ละวันลงได้ 500 กิโลแคลอรี ใน 1 สัปดาห์สามารถลดน้ำหนักลงได้ครึ่งกิโลกรัม นอกจากนี้การกินแบบนี้จะได้ปริมาณผักใน 1 มื้อ 100-200 กรัม และหากกิน 3 มื้อควบคู่กับผลไม้ จะได้รับปริมาณรวมไม่น้อยกว่า 400 กิโลกรัม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตามควรมีกิจกรรมทางกายร่วมด้วยจะช่วยลดพุงได้เร็วขึ้น



ออกกำลังกายควบคู่

ควรออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยผสานการออกกำลังกายทั้ง 3 แบบเข้าด้วยกัน คือ คาร์ดิโอ การใช้แรงต้าน และการยืดเหยียด ซึ่งสำหรับคาร์ดิโอจะเน้นการขยับเขยื้อนร่างกายเป็นหลัก ส่วนแรงต้านจะเป็นการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ต้นแขน ต้นขา หัวไหล่ หน้าท้อง หน้าอก เกร็งโดยใช้น้ำหนัก และแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เช่น บอดี้เวท เวทเทรนนิ่ง เป็นต้น สุดท้ายคือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดการบาดเจ็บและทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวดีขึ้นั่นเอง




ลดการกินอาหารบุฟเฟ่ต์

ปัจจุบันอาหารบุฟเฟ่ต์ กลายเป็นอาหารยอดนิยมของกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ นักเรียน นักศึกษา โดยการกินบุฟเฟ่ต์ส่วนใหญ่มักจะคิดถึงความคุ้มทุน และพยายามกินอาหารให้ได้ในปริมาณที่มาก เพื่อจะให้คุ้มค่ากับราคาที่เสียไป แต่ทั้งนี้หากร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความต้องการ ร่างกายจะนำพลังงานส่วนเกินนั้น ไปเก็บสะสมในรูปไขมันเพื่อเป็นพลังงานสำรอง ซึ่งถ้ามีการสะสมของไขมันมากขึ้น ก็จะนำไปสู่โรคอ้วนและนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ ดังนั้นการลดอาหารบุฟเฟ่ต์ลงบ้าง จึงเป็นเหมือนตัวช่วยในการลดน้ำหนักที่ดีมากอีกทางหนึ่งนั่นเอง


กินอาหารเช้าให้เต็มที่ กินอาหารเย็นให้เร็วขึ้น (ไม่เกิน 18.00 น.)

การลดน้ำหนักให้ได้ผล นอกจากจะต้องอาศัยวินัยในการออกกำลังกายแล้ว การรับประทานอาหารก็มีผลอย่างมากด้วยเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้เราได้ยินกันมาว่า กินน้อยๆ แต่ให้บ่อยมื้อ จะช่วยเรื่องระบบการเผาผลาญในร่างกายได้ดีขึ้น แต่จากผลการศึกษาล่าสุดโดยมหาวิทยาลัย Loma Linda University School of Public Health ในสหรัฐอเมริกา กลับพบว่า การกินอาหารมื้อเช้าให้เต็มที่ และกินมื้อเย็นให้เร็วขึ้น (ไม่เกิน 18.00 น.) เพื่อให้มีระยะเวลาที่ท้องว่างนาน 18 ชั่วโมง คือกุญแจสู่การลดน้ำหนักที่ได้ผลอย่างแท้จริง




ขอขอบคุณ

ภาพ :iStock

หากท่านผู้อ่านสนใจสินค้าเหล้่านี้ สามารถสั่งซื้อสินค้าราคาถูกพิเศษได้ที่>> http://www.vitamin24hr.com

ถูกที่สุดทั่วไทย สินค้าบริษัท

แอดไลน์ที่>> http://line.me/ti/p/%40vitamin24hr

หรือ ไลน์ไอดี @vitamin24hr

****

วันนี้กดไลค์เพจเราและแชร์แบบสาธารณะ เพื่อลุ้นรับขนาดทดลอง จัดส่งถึงบ้าน ประกาศผลทุกสิ้นเดือนจ้า

วิธีสังเกตอาการระหว่าง "ซึมเศร้า" กับ "ไบโพล่าร์"




สนับสนุนเนื้อหา


โรคซึมเศร้า คือโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติของสารเซโรโทนินในสมองมีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางร่างกายจิตใจและความคิด รู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิต นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้ายบ่อยครั้ง กระทั่งส่งผลกระทบให้ความสามารถในการทำงานลดลง และอาจตกอยู่ในภาวะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าจนอยากฆ่าตัวตายได้ แต่จุดเด่นของโรคซึมเศร้าอยู่ที่อารมณ์เบื่อเศร้าจะค่อนข้างชัดเจน

แต่สำหรับ โรคไบโพล่าร์ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอารมณ์สองขั้ว คือภาวะแมเนียและภาวะซึมเศร้า กล่าวคือไบโพลาร์จะมีลักษณะที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่ง สนุกสนานครื้นเครง รื่นเริง สลับกับอารมณ์ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง เราจึงเรียกไบโพลาร์ว่าโรคเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย บางคนอาจจะเรียกว่าโรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรคคนสองบุคลิกนั่นเอง


ความแตกต่างระหว่างโรคซึมเศร้ากับโรคไบโพล่าร์

จุดเด่นที่ทำให้โรคซึมเศร้าและโรคไบโพล่าร์มีความแตกต่างกันก็คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเบื่อหน่ายและเศร้าแทบจะตลอดเวลา ขณะที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์อาจมีภาวะซึมเศร้า สลับกับอารมณ์ร่าเริงเกินปกติ บุคลิกของผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์จะสลับสับเปลี่ยนกันเหมือนเป็นคนละคน เช่น เราอาจเคยเห็นเพื่อนหรือคนที่อยู่รอบข้างที่อยู่ดีๆ ก็ขยันทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย บางคนเวลาพูดคุยด้วยจะสังเกตว่าพูดมาก พูดเร็ว แต่ดูกระจัดกระจายไม่ปะติดปะต่อ เปลี่ยนเรื่องเร็วจนตามไม่ทัน บางคนที่เป็นมากอาจมีความคิดหลงผิดว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษ มีพลังอำนาจวิเศษเหนือธรรมชาติ หรือมีอารมณ์หงุดหงิดมาก ความอดทนต่ำหุนหันพลันแล่น อาจถึงขั้นอาละวาดทำร้ายคนหรือสิ่งของได้


วิธีสังเกตอาการระหว่างโรคซึมเศร้ากับโรคไบโพล่าร์


อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า : จะรู้สึกกลุ้มใจ ซึมเศร้าทุกวันและเกือบจะทั้งวัน รู้สึกเบื่อกับทุกอย่างรอบตัวเป็นประจำ ไม่อยากสังสรรค์หรือออกสังคม เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ กระวนกระวายหรือมีอาการซึมๆ เนือยๆ ไร้เรี่ยวแรง รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย รู้สึกไร้ค่า ร้องไห้ง่ายโดยไม่มีสาเหตุ มีอาการใจลอย ไม่มีสมาธิ หมกมุ่นอยู่แต่เรื่องเดิมๆ เบื่อชีวิต มีบางช่วงที่รู้สึกอยากตาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ : มักเกิดอาการซึมเศร้าครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน อีกทั้งยังมีอาการเป็นพักๆ เดี๋ยวเศร้าเดี๋ยวปกติวนไปมาหลายครั้ง ความคิดช้าลง พฤติกรรมต่างๆ ก็ช้าลงเช่นกัน รู้สึกโดดเดี่ยว ขาดกำลังใจ เหมือนกลายเป็นคนไร้ค่า มองโลกในแง่ร้ายไปหมด รู้สึกว่าโลกไม่สดใส ไม่มีอะไรน่าสนุก ไม่ร่าเริง มีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง ตกอยู่ในสภาวะหลงผิด อารมณ์ผิดปกติจนอาจควบคุมความประพฤติของตัวเองไม่ได้ เป็นต้น


การรักษาโรคซึมเศร้าและโรคไบโพล่าร์

ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษา ในบางรายมีความจำเป็นจะต้องให้ยาปรับอารมณ์ให้คงที่ร่วมด้วย อย่างไรก็ตามคนที่เป็นโรคไบโพล่าร์ ส่วนใหญ่เมื่อได้รับประทานยา อาการจะดีขึ้นจนเป็นปกติ และสามารถทำงาน ใช้ชีวิตปกติได้เหมือนไม่เคยป่วยมาก่อน

ที่สำคัญคือระวังการกำเริบของโรค เพราะผู้ป่วยไบโพล่าร์ ช่วงเมเนียมักไม่คิดว่าตัวเองป่วย หากอาการดีขึ้นก็มักหยุดยาเอง ซึ่งโรคจะกำเริบได้หากรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ รวมถึงการพักผ่อนไม่เป็นเวลา การดื่มแอลกอฮอล์และความเครียด

ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคนี้จึงไม่ควรทำงานที่พักผ่อนไม่เป็นเวลา เช่น งานที่ต้องอยู่เวรเป็นกะ และควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่สร้างความเครียดหรือกดดันมากเกินไป อย่างไรก็ตาม อาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น บางครั้งอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคไบโพลาร์ก็ได้ ดังนั้นการไปพบจิตแพทย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด


ขอขอบคุณ

ข้อมูล :สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

ภาพ :iStock

หากท่านผู้อ่านสนใจสินค้าเหล้่านี้ สามารถสั่งซื้อสินค้าราคาถูกพิเศษได้ที่>> http://www.vitamin24hr.com

ถูกที่สุดทั่วไทย สินค้าบริษัท

แอดไลน์ที่>> http://line.me/ti/p/%40vitamin24hr

หรือ ไลน์ไอดี @vitamin24hr

****

วันนี้กดไลค์เพจเราและแชร์แบบสาธารณะ เพื่อลุ้นรับขนาดทดลอง จัดส่งถึงบ้าน ประกาศผลทุกสิ้นเดือนจ้า